Macro View : Supply Oil Shock หรือยัง

Published
Share this article:

Scope :

• ด้านเศรษฐศาสตร์อธิบายไว้ว่าราคาน้ำมันเป็นสินค้าที่มีความยืดหยุ่นต่ออุปสงค์ต่ำ (Low elasticity of demand) นั่นหมายความว่าการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์ไม่มีผลต่อสินค้านั่นอย่างมีนัยสำคัญ เรื่องเหล่านี้ นักศึกษา นักทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาคย่อมเคยเหล่าเรียนมาแล้วในจุลเศรษฐศาสตร์ ปี 1 เทอม 1 แต่ความสัมพันธ์ที่ต่ำอาจไม่ได้เกิดโดยสมบูรณ์ (Perfectly) เพราะว่าอุปสงค์ของประเทศที่มีสัดส่วนการบริโภคน้ำมันสูงก็มีผลต่อราคาน้ำมันไม่มากก็น้อย หรือว่าการเปลี่ยนแปลงการบริโภคของจีนย่อมมีผลกระทบต่อราคาน้ำมัน

• ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นเนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นหรืออุปทานที่ลดลง ปัจจัยทั้งสองนี้ส่งผลต่อหุ้นแตกต่างกันหมายความว่าเราสามารถใช้การเคลื่อนไหวระหว่างราคาน้ำมันและราคาหุ้นเพื่อแยกความต้องการน้ำมันออกจากอุปทานได้ ความต้องการที่แข็งแกร่งเนื่องจากเศรษฐกิจโลกที่กำลังขยายตัวจะทำให้ทั้งราคาน้ำมันและราคาหุ้นสูงขึ้น แต่การขาดแคลนอุปทานจะส่งผลให้ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นในขณะเดียวกันก็ส่งผลกระทบต่อหุ้น ทำให้ต้นทุนพลังงานสูงขึ้นบริษัทที่มีกำไรน้อยลง

• ตามตารางข้างบน หากทั้งราคาน้ำมันและราคาหุ้นเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกัน (สูงหรือต่ำ) นั่นแสดงถึง Demand Shock แต่หากเคลื่อนไหวไปทิศทางตรงกันข้าม นั่นส่งสัญญาณถึงภาวะ Supply shock

Pi Comment :

ราคาหุ้นและราคาน้ำมันเคลื่อนไหวทิศทางตรงกันข้ามเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าราคาน้ำมัน ณ ช่วงเวลานั้น อุปทานน้ำมัน (Oil Supply) เป็นปัจจัยสำคัญและมีอิทธิพลต่อราคา อย่างไรก็ตามการเคลื่อนไหวทิศทางเดียวกันของทั้งสองจะบ่งชี้ไปถึงเรื่องของอุปสงค์น้ำมัน (Oil Demand) ซึ่งมักจะเป็นช่วงเวลาที่เกิดภาวะ Reflation หรือหมายถึงอัตราเงินเฟ้อกลับมาสูงขึ้น ซึ่งจะเป็นช่วงเวลาที่เศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวได้ดีที่แต่ละประเทศดำเนินช้นโยบายการเงินและนโยบายการคลังกระตุ้นเศรษฐกิจ ขณะที่มองย้อนกลับมาปัจจุบัน “น้ำมันดิบ” เป็นกลุ่มสินทรัพย์ที่เรามีมุมมองลบเล็กน้อยเนื่องจากแนวโน้ม Non-OPEC จะเพิ่มการผลิตปีหน้าและ OPEC อาจหันมาเพิ่มการผลิตน้ำมัน ซึ่งราคาน้ำมันผันผวนสูงจากเรื่องของ Supply Shock จะเป็น Negative Shock หรือ Positive Shock เป็นประเด็นสำคัญในการพยากรณ์ราคาน้ำมันในอนาคต