ลงทุนกับ Pi ก็สามารถใช้สิทธิ์ Easy E-Receipt ได้

Published
01 January 2024
Share this article:
banner image

ลงทุนกับ Pi ก็สามารถใช้สิทธิ์ Easy E-Receipt 2567ลดหย่อนได้สูงสุด 50,000 บาท

รายละเอียด:

ค่าธรรมเนียม หรือค่านายหน้าจากการลงทุน กองทุนรวม หุ้นต่างประเทศ หุ้นไทย สินทรัพย์ดิจิทัล สามารถนำลดหย่อนภาษีได้ โดยทางบริษัทฯ จะทำการจัดส่งเอกสารยืนยันการซื้อขาย e-Tax Invoice หรือ e-Receipt ให้ลูกค้าผ่านทางอีเมล

Easy E-Receipt คืออะไร:

Easy E-Receipt เดิมคือโครงการ e-Refund/ช้อปดีมีคืน เป็นโครงการของรัฐบาลที่สนับสนุนช่วยเหลือประชาชน และร้านค้าที่เข้าร่วมออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax invoice) เป็นมาตรการภาษี ที่ช่วยลดหย่อนภาษี แก่ประชาชนที่ใช้บริการหรือซื้อสินค้าจากร้านค้าดังกล่าว สามารถนำใบกำกับอิเล็กทรอนิกส์มาลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

เงื่อนไขและข้อกำหนด :

• ต้องเป็นผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
• ได้รับภาษีคืนจากการจับจ่ายสินค้าและบริการมูลค่ารวมไม่เกิน 50,000 บาท
• จากร้านค้าที่อยู่ในระบบภาษี และเฉพาะที่ออกใบกำกับภาษีในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
• ผู้ซื้อสินค้าและบริการ ต้องใช้ e-Tax หรือ e-Receipt มาลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ระยะเวลาโครงการ :

ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2567 - 15 กุมภาพันธ์ 2567

ข้อปฏิบัติที่ถูกต้อง :
สำหรับผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ผู้ซื้อไม่เสียสิทธิ์ในการทำ Easy E-Receipt

  1. ใบกำกับภาษีในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ได้ทั้งเงินสดและเงินเชื่อ และอยู่ในใบกำกับภาษีในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ทั้งเงินสดและเงินเชื่อ (เช่น ใบกำกับภาษี/ใบรับเงิน หรือ ใบกำกับภาษี/ใบแจ้งหนี้ ก็ได้)
  2. วันที่ในใบกำกับภาษีและวันที่ลงลายมืออิเล็กทรอนิกส์ จะต้องอยู่ภายในระยะเวลาที่โครงการกำหนด
  3. นำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรก่อนวันที่ 15 ของรอบเดือนภาษี เท่านั้น

*กรณีออกใหม่ทดแทนใบเดิม วันที่ออกใหม่ทดแทน ต้องอยู่ภายในระยะเวลาโครงการกำหนด

*เงื่อนไขอื่น ๆ เป็นไปตามที่กรมสรรพากรกำหนด

สินค้าและบริการที่ยกเว้น ไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษี ตามมาตรการ Easy E-Receipt ได้

  1. สุรา เบียร์ และไวน์
  2. ยาสูบ
  3. รถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรือ
  4. ค่าน้ำมัน และก๊าซสำหรับเติมยานพาหนะ
  5. ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าบริการสัญญาณโทรศัพท์ ค่าบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต
  6. ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย

บลจ. ที่เข้าร่วม:

  1. Asset Plus บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แอสเซท พลัส จำกัด
  2. KKPAM หลักทรัพย์จัดการกองทุนเกียรตินาคินภัทร จำกัด
  3. SCBAM บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด

*ลูกค้าต้องแจ้งรายละเอียดการรับเอกสารผ่านช่องทางอีเมล์ โดยเอกสาร e-tax receipt จะถูกจัดส่งให้ผ่านทางอีเมล์

หมายเหตุ:
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากกรมสรรพากรก่อนตัดสินใจลงทุน