SCGP (BUY : Fair Price : Bt41.00) : ภาพรวมไตรมาส 4/23-2024 ดีขึ้นแม้มีปัจจัยกดดัน

Published
25 October 2023
Share this article:

เราคงคำแนะนำ "ซื้อ" มูลค่าพื้นฐาน 41.00 บาท (จาก 44.00 บาท) กำไรสุทธิไตรมาส 3/23 อยู่ที่ 1.3 พันล้านบาท (-28% YoY, -11%QoQ) สอดคล้องกับประมาณการของตลาด สาเหตุที่กำไรลดลงมาจากปริมาณขายและราคาขายที่ลดลงในกลุ่มธุรกิจบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร (IPC) และธุรกิจเยื่อและกระดาษ ส่วนภาพรวมไตรมาส 4/23-2024 ดูดีขึ้น เพราะคาดว่าเศรษฐกิจอาเซียนจะฟื้นตัวต่อเนื่องจากการบริโภคในประเทศ แรงหนุนจากภาคท่องเที่ยวในแง่ของการใช้จ่ายกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม (F&B) และสินค้าอุปโภคบริโภค ฯลฯ ส่วนภาคการส่งออกและการค้าโลกคาดว่าจะฟื้นตัวหลังพ้นดอกเบี้ยขาขึ้นและมีเงินเฟ้อที่ลดลง ราคาหุ้นปัจจุบันสะท้อนกำไรที่ซบเซาในงวด 9 เดือนปี 2023 ไปแล้ว ซึ่งได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว จึงคาดว่าการฟื้นตัวของกำไรในไตรมาส 4/23 และหลังจากนั้นจะช่วยหนุนราคาหุ้นขึ้นได้

อุปสงค์ส่งออกอ่อนแอฉุดกำไรไตรมาส 3/23

กำไรสุทธิไตรมาส 3/23 อยู่ที่ 1.3 พันล้านบาท (-28% YoY, -11%QoQ) สอดคล้องกับประมาณการตลาด กำไรที่ลดลงมีสาเหตุมาจากปริมาณและราคาขายในธุรกิจ IPB และเยื่อและกระดาษที่ลดลงรายได้ลดลง 17% YoY และ 2% QoQ เป็น 3.16 หมื่นล้านบาท ฉุดจากส่วนแบ่งธุรกิจ IPB ธุรกิจเยื่อและกระดาษ และธุรกิจรีไซเคิลที่ลดลง EBITDA margin ก็ลดลงเล็กน้อยเป็น 13% ในไตรมาส 3/23 จาก 14% ในไตรมาส 3/22 ฉุดลงจากอัตรากำไรในธุรกิจเยื่อและกระดาษที่ลดลง ส่วนอัตรากำไรธุรกิจ IPB ปรับเพิ่มเป็น 15% เทียบ 13% ในไตรมาส 3/22 สืบเนื่องจาก

ต้นทุนวัตถุดิบ ค่าขนส่ง และพลังงานที่ลดลง

ธุรกิจ IPB (76% ของ EBITDA) มีรายได้ที่อ่อนตัวลง 19% YoY หลังจากราคาบรรจุภัณฑ์กระดาษในภูมิภาคและอุปสงค์การส่งออกบรรจุภัณฑ์สินค้าไม่สำคัญที่หดตัวลง ส่วนกิจการในอินโดนีเซีย (FAJAR) ก็ปรับลดลง เพราะแรงกดดันจากอุปทานล้านตลาดและการแข่งขันที่เข้มข้น ลดลง 2% QoQ ส่วน EBITDA margin ทรงตัว QoQ ที่ 15% ในไตรมาส 3/23 อัตรากำไรธุรกิจบรรจุภัณฑ์กระดาษในไทยและเวียดนามฟื้นตัวอย่างมีนัยสำคัญจากต้นทุนที่ลดลง แต่ถูกหักลบจากผลงานที่อ่อนแอในอินโดนีเซีย

แนวโน้มยอดขายและอัตรากำไรปรับดีขึ้นในอนาคต

ภาพรวมไตรมาส 4/23-2024 ดีขึ้น เพราะคาดว่าเศรษฐกิจอาเซียนจะฟื้นตัวต่อเนื่องจากการบริโภคในประเทศ แรงหนุนจากภาคท่องเที่ยวในแง่ของการใช้จ่ายกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม (F&B) และสินค้าอุปโภคบริโภค ฯลฯ ส่วนภาคการส่งออกและการค้าโลกคาดว่าจะฟื้นตัวหลังพ้นดอกเบี้ยขาขึ้นและมีเงินเฟ้อที่ลดลงดัชนีภาคการผลิตของจีนฟื้นตัวเล็กน้อยในไตรมาส 3/23 การนำเข้าบรรจุภัณฑ์กระดาษของจีนแตะ 90% ของช่วงก่อนล็อคดาวน์แล้ว แต่แรงกดดันต่อราคากระดาษในภูมิภาคยังดำรงอยู่ ผลงานธุรกิจในอินโดนีเซียที่อ่อนแอ (FAJAR) มีสาเหตุจากอุปสงค์การส่งออกที่ลดลงและการแข่งขันด้านราคาที่คาดว่าจะคลี่คลายลงตามอุปสงค์ในจีนที่ปรับดีขึ้น เพราะคิดเป็น 90% ของการส่งออกบรรจุภัณฑ์กระดาษของอินโดนีเซีย

คงคำแนะนำ "ซื้อ" มูลค่าพื้นฐานลดลงเป็น 41.00 บาท

เราคงคำแนะนำ "ซื้อ" แต่ลดมูลค่าพื้นฐานเป็น 41.00 บาท (จาก 44.00 บาท) หลังจากปรับลดประมาณการกำไรและปรับปีฐานไปเป็นปี 2024 มูลค่าพื้นฐานของเราอิง 25.5x PE’24E หรือ -2SD ต่อค่าเฉลี่ย 3 ปี เรามองว่าราคาหุ้นปัจจุบันสะท้อนกำไรที่ซบเซาในงวด 9 เดือนที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวไปแล้ว จึงคาดว่าการฟื้นตัวของกำไรในไตรมาส 4/23 และหลังจากนั้นจะช่วยหนุนราคาหุ้นขึ้นได้