Pi STOCK UPDATE : ICHI (BUY : FAIR PRICE Bt18.00)
" อากาศร้อนหนุนกำไรไตรมาส 2/23 แตะยอดสูงรอบ 7 ปี "
เรามีมุมมองเชิงบวกต่อภาพรวมผลประกอบการครึ่งปีหลัง 2023 หนุนจากอุปสงค์ที่แข็งแกร่งต่อชาพร้อมดื่ม และคาดว่าอัตราการใช้กำลังการผลิตจะเพิ่มเป็น 70% ในครึ่งหลังปี 2023 จาก 62% ในครึ่งหลังปี 2022 ขณะที่รายงานกำไรสุทธิไตรมาส 2/23 อยู่ที่ 256 ล้านบาท (+68%YoY, +15%QoQ) สูงสุดในรอบ 7 ปี หนุนจาก 1) ยอดขายชาเขียวที่โตดี 24% สูงกว่าการเติบโตของตลาดชาเขียวทั้งหมดที่ 21% 2) ยอดขายสินค้าอื่นนอกจากชาเขียวที่โตเท่าตัว สืบเนื่องจากส่วนแบ่งรายได้ตันซันซู 25 ล้านบาท/เดือน (เปิดตัวไตรมาส 4/22), และ 3) อัตรากำไรที่ดีขึ้นจากอัตราการดำเนินงานที่สูงขึ้น ทั้งนี้ ด้วยอัตราผลตอบแทนเงินปันผลที่น่าดึงดูดระดับ 4%-5% และแนวโน้มการเติบโตของกำไรที่แข็งแกร่งในครึ่งหลังปี 2023 เราจึงคงคำแนะนำ "ซื้อ" มูลค่าพื้นฐาน 18.00 บาท (จาก 15.00 บาท) สะท้อนการปรับเพิ่มประมาณการกำไรสำหรับปี 2023-24 ขึ้น 10%-18%
**ภาพรวมกำไรที่สดใสในครึ่งปีหลัง **
• เรามองบวกต่อเป้าหมายของผู้บริหารที่มีการปรับเพิ่มเป้ารายได้ปี 2023 เป็น 7.6 พันล้านบาท (+20%YoY) จากเดิมที่ 7.3 พันล้านบาท (+15.3%YoY)
• ICHI มีแผนขยายกำลังการผลิตขึ้น 200 ล้านขวด/ปี หรือ +13% จากเดิมกำลังการผลิตปัจจุบันที่ 1,500 ล้านขวด/ปี ด้วยงบลงทุน 460 ล้านบาท ปัจจุบันบริษัทมีอัตราการใช้กำลังการผลิตสูงกว่า 70% ของกำลังการผลิต นับว่าเกือบเต็มกำลังการผลิตเพราะที่เหลือสำรองไว้ในกรณีที่มีการปิดซ่อมบำรุงสายการผลิต แต่ด้วยเงินสดในมือจำนวนกว่า 680 ล้านบาท และกระแสเงินสดจากการดำเนินงานที่มากกว่า 1.3 พันล้านบาท เราจึงคาดว่าบริษัทจะจ่ายเงินปันผลที่ 0.85 บาท/หุ้น และ 0.89 บาท/หุ้นในปี 2023-24 เพิ่มขึ้นจาก 0.60 บาท/หุ้นในปี 2022 แม้ว่ามีการลงทุนขยายกำลังการผลิตใหม่ ส่วนในระยะสั้น บริษัทแก้ไขปัญหาโดยมีแผนรับจ้างผลิต (OEM) 6% ของรายได้รวม โดยยังสามารถได้อัตรากำไรขั้นต้น (GPM) ใกล้เคียงกับที่ผลิตเอง
• เราประเมินว่ารายได้จะโตเป็น 7.6 พันล้านบาท (+20%YoY) ในปี 2023 หนุนจากอุปสงค์ที่แข็งแกร่งในกลุ่มชาพร้อมดื่ม บวกกับการเติบโตที่แข็งแกร่งในตลาดชาเขียว (+19.1% ในช่วงเดือน ม.ค. - มิ.ย. 2023) รายได้จากตันซันซูที่ 300 ล้านบาท หรือ 25 ล้านบาท/เดือน เพิ่มขึ้นจากปี 2022 ที่ 62 ล้านบาท
อากาศร้อนหนุนกำไรไตรมาส 2/23 แตะยอดสูงรอบ 7 ปี
• กำไรปกติไตรมาส 2/23 อยู่ที่ 256 ล้านบาท (+68%YoY, +15%QoQ) โดยกำไรครึ่งปีแรกคิดเป็น 52% ต่อประมาณการทั้งปี 2023 ของเรา
• รายได้ไตรมาส 2/23 แตะ 2 พันล้านบาท (+26%YoY, +11%QoQ) หนุนจากการเติบโตของรายได้จากตลาดในไทย ประกอบด้วยรายได้กลุ่มชาเขียวที่ 1.3 พันล้านบาท (+24%YoY) เย็นเย็นที่ 299 ล้านบาท (+10%YoY) สินค้าอื่นที่ไม่ใช่ชา 190 ล้านบาท (+108%YoY) ยอดขาย OEM ที่ 39 ล้านบาท (+448%YoY) ส่วนยอดขายจากตลาดส่งออกก็ฟื้นตัวเป็น 185 ล้านบาท (+3%YoY) แตะยอดสูงรอบ 8 ไตรมาส
• อัตรากำไรขั้นต้น (GPM) ในไตรมาส 2/23 เพิ่มเป็น 23.0% จาก 18.0% ในไตรมาส 2/22 และ 20.8% ในไตรมาส 1/23 หนุนจากอัตราการดำเนินงานที่เพิ่มเป็น 71% ในไตรมาส 2/23 จาก 58% ในไตรมาส 2/22 และ 62% ในไตรมาส 1/23
• อัตราส่วนค่าใช้จ่ายการขายและบริหาร (SG&A) ต่อยอดขายเพิ่มเป็น 7.8% ในไตรมาส 2/23 จาก 7.3% ในไตรมาส 2/22 เพราะค่าใช้จ่ายกิจกรรมการตลาดสำหรับตันซันซูที่สูงขึ้น
• ส่วนแบ่งกำไรลดลงเหลือ 1 ล้านบาท (-93%YoY) ในไตรมาส 2/23 จาก 15 ล้านบาทในไตรมาส 2/22 เพราะค่าใช้จ่ายด้านการจัดโปรโมชั่นที่สูงขึ้น สืบเนื่องจากการแข่งขันด้านราคาที่ดุเดือดในอินโดนีเซีย
คนไทยนิยมบริโภคเครื่องดื่มมากขึ้นเพื่อดับกระหายช่วงหน้าร้อน
มูลค่าพื้นฐาน 18.00 บาท อิง 25xPE’1H24E ใกล้เคียงค่าเฉลี่ย 3 ปี และค่าเฉลี่ยกลุ่มสินค้าจำเป็นของไทย